ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท

เดวิช โมฮาโต เบียง เซเอโซ
สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเลโซโท
ครองราชย์7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน
(28 ปี 326 วัน)
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโท
รัชกาลถัดไปยังอยู่ในราชสมบัติ
ประสูติ17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 (61 ปี)
พระอัครมเหสีสมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ
พระราชบุตร3 พระองค์
สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท
ราชวงศ์ราชอาณาจักรเลโซโท
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโท
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีมาโมฮาโตแห่งเลโซโท

สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท (อังกฤษ: Letsie III of Lesotho) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์และประมุขแห่งรัฐของราชอาณาจักรเลโซโท

พระราชประวัติ

[แก้]

พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโทและสมเด็จพระราชินีมาโมฮาโตแห่งเลโซโท มีพระราชอนุชา 1 พระองค์ คือ เจ้าชายซีอีโซแห่งเลโซโท และพระกนิษฐภคินี 1 พระองค์ คือ เจ้าหญิงคอนสแตนซ์ มาเซเอโซแห่งเลโซโท ทรงโปรดการเล่นกีฬาเทนนิส และทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการเกษตร

การศึกษา

[แก้]

พระราชวงศ์

[แก้]

พระองค์อภิเษกสมรสกับนางสาวแอนนา คาราโบ มอตโซเอเนง (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 พระองค์ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 3 พระองค์ ได้แก่

  1. เจ้าหญิงซีนาตี เซโอโซแห่งเลโซโท
  2. เจ้าหญิงมาเซเอโซ
  3. เจ้าชายเลโรโทรี เซเอโซ มกุฎราชกุมารแห่งเลโซโท

การเสวยราชสมบัติ

[แก้]
  • ครั้งแรก พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ณะที่สมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโท พระราชบิดาทรงอยู่ระหว่างการลี้ภัยทางการเมืองในสหราชอาณาจักร
  • ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโท

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทย

[แก้]

พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมายังประเทศไทยหลายครั้ง ทั้งในฐานะพระราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล และเสด็จเป็นการส่วนพระองค์

  • วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2549 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในฐานะพระราชอาคันตุกะ การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินมายังประเทศไทยครั้งแรกของทั้ง 2 พระองค์[1] ในการนี้ พระองค์และสมเด็จพระราชินีได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมสถานที่สำคัญในกรุงเทพมหานครและศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการส่วนพระองค์ [2]
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาถวายพระราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง[3] [4]
  • วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในฐานะแขกของรัฐบาล[5]
  • วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ เพื่อเข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ไชยันต์ มารดาของอวัสดา ปกมนตรี ภริยาของอภิชาติ สุดแสวง กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์แห่งราชอาณาจักรเลโซโท [6] [7]
  • วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ เป็นการส่วนพระองค์ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการเกษตรกับเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [8]
  • วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ เพื่อทรงเข้าร่วมงาน The Simply Exceptional 2019 Gala Dinner ร่วมกับผู้แทนจากพระราชวงศ์ไทยและพระราชวงศ์เบลเยี่ยม [9]
  • วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ เพื่อเข้าร่วมพิธีถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตรศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แด่สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งราชอาณาจักรเลโซโท [10] [11]

แหล่งข้อมูล

[แก้]
  1. "สมเด็จพระเทพฯ ทรงรับพระราชอาคันตุกะจาก 'เลโซโท'". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท เสด็จฯ ถวายราชสักการะพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "กษัตริย์เลโซโททรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพ". ไทยพีบีเอส. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "ซาบซึ้งน้ำพระราชหฤทัย ! กษัตริย์เลโซโทเสด็จฯมาร่วมสักการะพระบรมศพ". นิตยสาร Hello. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "กษัตริย์-ราชินีแห่งราชอาณาจักรเลโซโท เสด็จถึงไทย ร่วมพิธีถวายพระเพลิงฯ ในหลวงร.9". ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์กิติวัฒนา ไชยันต์". ช่อง 7. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว.กิติวัฒนา ไชยันต์ ปกมนตรี". บางกอกทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "เฉลิมชัย"เฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซี แห่งราชอาณาจักรเลโซโท". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ฉลองความสัมพันธ์ 3 ราชอาณาจักร "ไทย-เบลเยียม-เลโซโท"". สยามรัฐ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ม.อ.ถวายปริญญาเกษตรศาสตร์ แด่สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งราชอาณาจักรเลโซโท". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ม.อ. ถวายปริญญาเกษตรศาสตร์ แด่สมเด็จพระราชาธิบดีเลโซโท จากที่ทรงน้อมนำการเกษตรทฤษฎีใหม่ไปใช้และเห็นผลเป็นรูปธรรม". มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท ถัดไป
สมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโท
พระมหากษัตริย์เลโซโท
(ครั้งที่ 1)

(พ.ศ. 2533–2538)
สมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโท
สมเด็จพระราชาธิบดีโมโชโชที่ 2 แห่งเลโซโท
พระมหากษัตริย์เลโซโท
(ครั้งที่ 2)

(พ.ศ. 2539–ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ